Free Economy Shipping On Domestic Orders. For Additional Information, Click Here To Chat & Shop At Our Line Official.

PRESERVATIVE อันตรายจริงหรือ?

สารกันเสีย หรือวัตถุกันเสีย (Preservative) มีความสำคัญต่อสูตรในเครื่องสำอางเป็นอย่างมาก มีบทบาทเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อันก่อให้เกิดเชื้อรา และแบคทีเรียได้ในอนาคต เครื่องสำอางในตลาดที่มีคำโฆษณาว่าไม่ใส่สารกันเสีย เพื่อหวังให้ผู้บริโภคกลัวสารกันเสียและหลีกเลี่ยง (Preservative-Free, No Preservative) นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยิ่งควรตระหนักถึงความเสี่ยงจากการไม่ใส่เครื่องสำอางเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลเสียที่ไม่ใส่สารกันเสีย อาจมีมากกว่าผลเสียอันเกิดจากความเสี่ยงต่อการแพ้หรือระคายเคืองต่อสารกันเสีย ทั้งด้านที่อาจก่อให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ หรือทำให้สารในเครื่องสำอางมีประสิทธิภาพลดลงParaben นับเป็นหนึ่งในสารกันเสียที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางมาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีราคาที่เข้าถึงง่าย และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันพบว่าพาราเบนมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Methylparaben, Ethylparaben, Propylparaben, Butylparaben, Isopropylparaben  และ Isobutylparaben  (Oishi, 2001; Darbre et al., 2002, 2003) ทว่า ปัจจุบันบางแบรนด์มีการเคลมถึง No Paraben หรือ Paraben Free โดยให้เหตุผลว่าพาราเบนนั้น เข้าไปรบกวนฮอร์โมนในเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชาย (Darbre et al., 2004) พบการศึกษาโดยทดสอบความแตกต่างของสารกันเสียต่อเซลล์ที่สร้างคอลลาเจนและอิลาสตินบนชั้นผิวของมนุษย์ โดยทดสอบจากสารกันเสียกลุ่ม Paraben และ Phenoxyethanol ผลพบว่า Propyl paraben มีผลทำลายเซลล์เซลล์ที่รุนแรงกว่าสารกันเสียที่ทดสอบทั้งหมด (Katarzyna et al., 2020) โดยในปี 2005 สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้กลุ่ม Paraben ทั้ง 6 ตัว แต่ควบคุมในปริมาณที่กำหนด ในปริมาณที่ 0.01 ถึง 0.3% เมื่อพิจราณาความปลอดภัยในสตรีและทารก, ปี  2011 รัฐบาลเดนมาร์ก The Danish Government ได้เริ่มสั่งห้ามใช้กลุ่ม Paraben บางชนิด  ได้แก่  Propyl paraben , Butylparaben,  Isopropylparaben และ Isobutylparaben ในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 3 ปี, ญี่ปุ่นอนุญาตให้ใช้กลุ่ Paraben ได้ที่ปริมาณ 0.1 ถึง 0.4%, เกาหลีอนุญาตให้ใช้กลุ่ม Paraben ในอาหารและยารักษาโรคเท่านั้น, ปี 2018 ประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ Methylparaben, Ethylparaben, Propylparaben, Butylparaben ที่ 0.8% โดยห้ามใช้ในผลิตภภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ไม่ต้องล้างออก สําหรับการใช้ในบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อมสําหรับเด็กอายุต่ํากว่า 3 ปี

เมื่อมีกระแสการสั่งห้าม หรือการกำหนดปริมาณการใช้พาราเบนเกิดขึ้น นักการตลาดเครื่องสำอางจึงหันมาเล่นกับความกลัวนี้ โดยโปรโมทผลิตภัณฑ์ต่างๆเป็น Clean Beauty หรือการเคลมไม่ใส่สารต้องห้ามต่างๆที่มีชื่อเสียงหรือข่าวออกมา ทั้งนี้ผู้ผลิตจึงหันไปใช้สารทดแทนที่อาจจะดี หรือแย่กว่าพาราเบนเสียอีก แต่ยังไม่ถูกนักการตลาดหยิบยกมาสื่อสารกับผู้บริโภค เช่น Methylisothiazolinone หรือ MI เป็นสารกันเสียที่พบได้มากในแชมพู ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนัง และเครื่องสำอาง มีการทดสอบปฏิกิริยาการแพ้ในหนูพบว่า MI มีค่าปฏิกิริยาความไวต่อการแพ้สูง ยิ่งมีค่าสูง ยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่รุนแรงยิ่งขึ้น  (Erica et al., 2019) ในประเทศไทยสั่งห้ามใช้สารชนิดนี้ ในเครื่องสำอางที่ทาทิ้งไว้ เนื่องจากสารอาจกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ และ Methylchloroisothiazolinone หรือ MCI เป็นสารกันเสียพบได้ในตั้งแต่เครื่องสำอางไปจนถึงสีในเครื่องสำอาง  เช่นเดียวกันกับ Methylisothiazolinone ในประเทศไทยสั่งห้ามใช้ในเครื่องสำอางที่ทิ้งไว้  โดยมีการทดสอบ Patch Test หรือการทดสอบผื่นแพ้สัมผัสทางผิวหนัง ในผู้ทดสอบจำนวน 297 คน พบผื่น และรอยแดง ประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคิดเป็น 17.24% มากที่สุดจากสารที่ทดสอบทั้งหมด (Eliane et al., 2020)

จากข้อมูลที่กล่าวไปข้างต้นนั้น Paraben อาจไม่ก่อให้เกิดการแพ้เมื่อใช้ในปริมาณต่ำ หรือปริมาณที่ควบคุม ทั้งนี้ ในปริมาณดังกล่าวที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด ก็ยังคงทำให้พาราเบนสามารถเป็นสารกันเสียที่มีประสิทธิภาพได้อยู่ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อผู้บริโภคได้รับการสื่อสารจากแบรนด์เครื่องสำอางในตลาดอย่างกว้างขวางว่าไม่ควรใช้พาราเบน จึงไม่แปลกที่ผู้บริโภคยังมีความกังวลในการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันเสียชนิดนี้อยู่ ทั้งนี้สารกันเสียทางเลือกต่างๆ ยังมีอีกมากมายให้ได้ศึกษา และอาจจะดีกว่าหรือแย่กว่าตัวพาราเบนก็ได้ หรืออาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอันเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคล

แหล่งอ้างอิง

S Oishi. Effects of butylparaben on the male reproductive system in rats. Toxicol. Ind. Health. 2001; 17(1):31-9.

P. D. Darbre, A. Aljarrah, W. R. Miller, N. G. Coldham, M. J. Sauer and G. S. Pope. Concentrations of parabens in human breast tumours. J. Appl. Toxicol. 2004; 24: 5–13.

E. A. Gomez, J. Kline, E. Emanuel, N. Neamonitaki and T. Yangdon. Repeated vaginal exposures to the common cosmetic and household household preservative methylisothiazolinone induce persistent, Mast Cell-Dependent Genital Pain in ND4 Mice. 2019.

Related Posts

Stay updated with everything people experience with skincare and beauty.

Benefits of Marula and Argan Seed Oil

MARULA SEED OIL ชื่อวิทยาศาสตร์: Sclerocarya birrea seed oil มารูล่า (Marula) พืชประจำท้องถิ่นในแถบแอฟริกาใต้ เป็นหนึ่งในพืชที่มีมูลค่าสูงที่สุด สรรพคุณมากมายทั้งในด้านโภชนาการ และยา แผนโบราณ เช่น อาการเจ็บหน้าอก อีกทั้งยังช่วยลดจุดด่างดำบนผิว (Alvaro et al., 2022) เมื่อปี 2011
Read More

ใบบัวบก สมุนไพรมากคุณประโยชน์

Centella asiatica ใบบัวบกพบมากในอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย มาดากัสการ์ แอฟริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก (Brinkhaus et al., 2000 ; James and Dubery., 2009)  ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดที่แยกได้จาก Centella asiatica คือ Pentacyclic triterpenoid
Read More

PRESERVATIVE อันตรายจริงหรือ?

สารกันเสีย หรือวัตถุกันเสีย (Preservative) มีความสำคัญต่อสูตรในเครื่องสำอางเป็นอย่างมาก มีบทบาทเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อันก่อให้เกิดเชื้อรา และแบคทีเรียได้ในอนาคต เครื่องสำอางในตลาดที่มีคำโฆษณาว่าไม่ใส่สารกันเสีย เพื่อหวังให้ผู้บริโภคกลัวสารกันเสียและหลีกเลี่ยง (Preservative-Free, No Preservative) นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยิ่งควรตระหนักถึงความเสี่ยงจากการไม่ใส่เครื่องสำอางเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลเสียที่ไม่ใส่สารกันเสีย อาจมีมากกว่าผลเสียอันเกิดจากความเสี่ยงต่อการแพ้หรือระคายเคืองต่อสารกันเสีย ทั้งด้านที่อาจก่อให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ หรือทำให้สารในเครื่องสำอางมีประสิทธิภาพลดลงParaben นับเป็นหนึ่งในสารกันเสียที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางมาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีราคาที่เข้าถึงง่าย และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันพบว่าพาราเบนมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่
Read More

What Is Natural Moisturizing Factor (NMF)?

Natural Moisturizing Factor หรือ NMF เป็นสารที่อยู่ภายในเซลล์บนชั้นผิวของมนุษย์ พบอยู่ในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)  ภายในประกอบด้วย Amino acids, Pyrrolidone carboxylic acid , Urocanic acid, Lactic acid และ Urea ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของผิว โดยดูดซับน้ำจากอากาศเข้าสู่ผิว และไขมันที่จะช่วยกันน้ำไม่ให้ระเหยอออกจากผิว
Read More

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *