PEG สารที่ต้องระวังในเครื่องสำอาง
PEG หรือ Polyethylene Glycol เป็นสารที่มักพบในเครื่องสำอาง หรือใช้ในทางการแพทย์ มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับจำนวนโมเลกุล อาทิ PEG 200, PEG 300, PEG 400, PEG 3350 และ PEG 8000 เป็นต้น ซึ่งจำนวนโมเลกุลมีผลต่อลักษณะภายนอก การละลายน้ำ การดูดความชื้น และจุดเยือกแข็ง ในเครื่องสำอางที่เราใช้กัน มักพบ PEG เป็นส่วนประกอบ ข้อดีของการใช้ PEG ในเครื่องสำอาง ได้แก่ ใช้งานง่าย ทำความสะอาดได้ดี แต่มีข้อเสียเช่นกัน เนื่องจาก PEG เข้าไปมีผลต่อการสูญเสียน้ำในผิวหรือเรียกอย่างว่าค่า TEWL (Transepidermal water loss) เป็นค่าสามารถวัดและบ่งบอกถึงปริมาณที่สูญเสียน้ำออกจากผิวไป ยิ่งมีค่ามาก แสดงถึงการสูญเสียของน้ำในผิวมากเช่นเดียวกัน จากงานวิจัยพบว่าเมื่อผิวมีค่า TEWL ที่สูงจะส่งผลให้ผิวแห้งและมีการอักเสบ จนนำไปสู่โรคทางผิวหนัง อาทิ โรคผื่นแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น มีการศึกษาพิษวิทยาในสารประกอบของ PEG ชนิดต่าง ๆ ผลคือมีความเป็นพิษต่ำ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการแพ้เลย พบการรายงานผลการแพ้ของ PEG พบว่ามีผู้ป่วยมีอาการการแพ้ใน PEG-100 ซึ่งนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาการที่พบมีผื่นแดง คัน มือเท้าบวม และภาวะความดันต่ำ
ดังนั้นการเลือกใช้ PEG ในเครื่องสำอางจึงมีข้อดีและข้อเสียที่อาจส่งผลต่อร่างกาย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้หรือโรคที่เกิดขึ้น
แหล่งอ้างอิง
รัชดาพร ทองยศ , กานต์วงศ์ ศุภสวัสดิ์ และ ศิริวรรณ กูรมะสุวรรณ. ความสัมพันธ์ของการสูญเสียน้ำ ทางผิวหนังกับการมีผิวเซนซิทีฟ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
สาขาวิชาตจวิทยา. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)
Fionnuala Cox, Khairin Khalib, and Niall Conlon. PEG That Reaction: A Case Series of Allergy to Polyethylene Glycol. J Clin Pharmacol. 2021 Feb 28 : 10.1002/jcph.1824.
Hyun-Jun Jang, Chan Young Shin and Kyu-Bong Kim. Safety Evaluation of Polyethylene Glycol (PEG) Compounds for Cosmetic Use. Toxicol Res. 2015 Jun; 31(2): 105–136.